สุริยปริตฺตปาโฐ (ภาษาบาลี)
เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน สุริโย เทวปุตฺโต ราหุเน อสุรินฺเทน คหิโต โหติ ฯ อถโข สุริโย เทวปุตฺโต ภควนฺตํ อนุสฺสรมาโน ตายํ เวลายํ อิมํ คาถํ อภาสิ ฯ
นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺมิ ตสฺส เม สรณํ ภวาติ
อถโข ภควา สุริยํ เทวปุตฺตํ อารพฺภ ราหุ อสุรินฺทํ คาถาย อชฺฌภาสิ
ตถาคตํ อรหนฺตํ สุริโย สรณํ คโต ราหุ สุริยํ ปมุญฺจสฺส พุทฺธาโลกานุกมฺปกา
โย อนฺธกาเร ตมสี ปภงฺกโร เวโรจโน มณฺฑลิ อุคฺคเตโช มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข
ปชํ มม ราหุ ปมุญฺจ สุริยนฺติ ฯ อถโข ราหุ อสุรินฺโท สุริยํ เทวปุตฺตํ มุญฺจิตฺวา ตรมานรูโป เยน เวปจิตฺติ อสุรินฺโท เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา สํวิคฺโค โลมหฏฺฐชาโต เอกมนฺตํ อฎฺฐาสิ ฯ เอกมนฺตํ ฐิตํ โข ราหุ อสุรินฺทํ เวปจิตฺติ อสุรินฺโท คาถาย อชฺฌภาสิ.
กินฺนุ สนฺตรมาโน ว ราหุ สุริยํ ปมุญฺจสิ สํวิคฺครูโป อาคมฺม กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺสีติ สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา ชีวนฺโต น สุขํ ลเภ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ โน เจ มุญฺเจยฺย สุริยนฺติ สุริยปริตฺตปาโฐ นิฏฺฐิโต ฯ
............................................................
บทสวดมนต์ สุริยปริตฺต์
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สุริโย เทวะปุตโต ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติฯ อะถะโข สุริโย เทวะปุตโต ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโน ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ
นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนส๎ะมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติฯ
อะถะโข ภะคะวา สุริยัง เทวะปุตตัง อารัพภะ ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ตะถาคะตัง อะระหันตัง สุริโย สะระณัง คะโต
ราหุ สุริยัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกา ฯ
โย อันธะกาเร ตะมะสี ปะภังกะโร
เวโรจะโน มัณฑะลิ อุคคะเตโช
มา ราหุ คิลี จะระมันตะลิกเข
ปะชัง มะมะ ราหุ ปะมุญจะ สุริยันติฯ
อะถะโข ราหุ อะสุรินโท สุริยัง เทวะปุตตัง มุญจิต๎ตะวา ตะระมานะรูโป เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ อุปสังกมิต๎ตะวา สังวิคโค โลมะหัฏฐะชาโต เอกะมันตัง อัฏฐาสิฯ เอกะมันตัง ฐิตัง โข ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถายะ อัชฌะภาสิ
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมะหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติฯ
............................................................
คำแปลบทสวดมนต์ สุริยปริตต์
เอวัมเม สุตัง
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนะถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
เสด็จประทับอยู่ที่ พระเชตวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี
เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ
ก็โดยสมัยนั้นแล
สุริโย เทวะปุตโต
สุริยเทวบุตร
ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติ
ถูกอสุรินทราหู จับตัวไว้ ฯ
อะถะโข สุริโย เทวะปุตโต
ครั้งนั้นแล สุริยเทวบุตร
ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโน
ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ
ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
นะโม เต พุทธะวีรัตถุ
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์
วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในกิเลสธรรมทั้งปวง
สัมพาธะปะฏิปันโนสมิ
ข้าพระองค์เผชิญฐานะอันคับขัน
ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติ
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์ด้วยเถิด
อะถะโข ภะคะวา
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
สุริยัง เทวะปุตตัง อารัพภะ
ทรงปรารภสุริยเทวบุตร
ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ได้ตรัสกับอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
ตะถาคะตัง อะระหันตัง สุริโย สะระณัง คะโต
สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ว่าเป็นที่พึ่ง
ราหุ สุริยัง ปะมุญจัสสุ
ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทวบุตรเสียเถิด
พุทธา โลกานุกัมปะกา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก ฯ
โย อันธะกาเร ตะมะสี ปะภังกะโร
สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด
เวโรจะโน
มีความไพโรจน์โชติช่วง
มัณฑะลิ
มีสัณฐานเป็นวงกลม
อุคคะเตโช
มีเดชสูง
มา ราหุ คิลี
ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น
จะระมันตะลิกเข
ผู้โคจรไปในอากาศ
ปะชัง มะมะ ราหุ ปะมุญจะ สุริยันติ
ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะผู้เป็นบุตรของเราเสียเถิด ฯ
อะถะโข ราหุ อะสุรินโท
ลำดับนั้นแล อสุรินทราหู
สุริยัง เทวะปุตตัง มุญจิตวา
ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว
ตะระมานะรูโป
กระหืดกระหอบ
เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ
เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติ ถึงที่อยู่
อุปะสังกะมิตวา
ครั้นเข้าไปหาแล้ว
สังวิคโค
ก็เศร้าสลดใจ
โลมะหัฏฐะชาโต
เกิดขนพองสยองเกล้า
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
ได้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
เอกะมันตัง ฐิตัง โข ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถายะ อัชฌะภาสิ อสุรินทเวปจิตติ
ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระอาทิตย์เสียเปล่า
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโตวะ ติฏฐะสีติ
ทำไมหนอ ท่านจึงเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ทำไมเล่า ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภีคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ
อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย
.....................................................
เรื่องพระราหู...มีอยู่ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาในหัวข้อ "สุริยสูตร" และ "จันทิมสูตร" อ้างว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ พระนครสาวัตถี ปรากฏว่า สุริยเทวบุตรถูกอสุรินทรราหูจับพระอาทิตย์จะกลืนกิน พระอาทิตย์จึงร้องขอให้ พระพุทธเจ้าคุ้มครองป้องกันให้พ้นจากการคุกคามของพระราหู
ในที่สุดพระองค์ทรงใช้คาถาทรมานพระราหู จนยอมปล่อยพระอาทิตย์ และหันมาเลื่อมใสศาสนาพุทธในทำนองเดียวกันพระจันทร์ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์จนพระราหู ลดทิฐิมานะ ยอมถวายอภิวาทพระศาสดา ละเลิกเป็นอันธพาล เลื่อมใสในหลักธรรมของพระตถาคต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สุริยสูตรที่ ๑๐
สุริยสูตรที่ ๑๐
[๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
[๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ
[๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
[๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่าข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ
...........................................................
สาธุ
ตอบลบ