วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[VOD] จันทิมสูตรที่ ๙ และบทสวดมนต์ "จันทปริตต์"




จนฺทปริตฺตปาโฐ (ภาษาบาลี)

เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ
เตน โข ปน สมเยนจนฺทิมา เทวปุตฺโต ราหุนา อสุรินฺเทน คหิโต โหติ ฯ
อถโข จนฺทิมา เทวปุตฺโต ภควนฺตํ อนุสฺสรมาโน ตายํ เวลายํ อิมํ คาถํ อภาสิ

นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ 
สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺมิ ตสฺส เม สรณํ ภวาติ

อถโข ภควา จนฺทิมํ เทวปุตฺตํ อารพฺภ ราหุ อสุรินฺทํ คาถาย อชฺฌภาสิ
ตถาคตํ อรหนฺตํ จนฺทิมา สรณํ คโต
ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสฺสุ พุทฺธา โลกานุกมฺปกาติ

อถโข ราหุ อสุรินฺโท จนฺทิมํ เทวปุตฺตํ มุญฺจิตฺวา ตรมานรูโป
เยน เวปจิตฺติ อสุรินฺโท เตนุปสงฺกมิตฺวา สํวิคฺโค โลมหฏฺฐชาโต เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ ฯ
เอกมนํตํ ฐิตํ โข ราหุ อสุรินฺทํ เวปจิตฺติ อสุรินฺโท คาถาย อชฺฌภาสิ

กินฺนุ สนฺตรมาโน ว ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสิ สํวิคฺครูโป
อาคมฺม กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺฐสีติสตฺตธา เม ผเล มุทฺธา ชีวนฺโต
น สุขํ ลเภ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ โน เจ มุญเจยฺย จนฺทิมนฺติ จนฺทปริตฺตปาโฐ นิฏฺฐิโต ฯ





บทสวดมนต์ จันทปริต์

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณทิกัสสะ อาราเม ฯ
เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ จันทิมา เทวะปุตโต ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติ ฯ
อะถะโข จันทิมา เทวะปุตโต ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโน ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ

นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนส๎ะมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติฯ

อะถะโข ภะคะวา จันทิมัง เทวะปุตตัง อารัพภะ ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ตะถาคะตัง อะระหันตัง จันทิมา สะระณัง คะโต
ราหุ จันทัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกาติฯ

อะถะโข ราหุ อะสุรินโท จันทิมัง เทวะปุตตัง มุญจิต๎ตะวา ตะระมานะรูโป
เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ อุปสังกะมิต๎ตะวา
สังวิคโค โลมะหัฏฐะชาโต เอกะมันตัง อัฏฐาสิฯ
เอกะมันตัง ฐิตัง ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถา อัชฌะภาสิ

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมะหิ โน จะ มุญเจยยะ จันทิมันติฯ


........................................................





คำแปลบทสวดมนต์ จันทปริตต์

เอวัมเม สุตัง
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนะถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
เสด็จประทับอยู่ที่ พระเชตวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี

เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ
ก็โดยสมัยนั้นแล

จันทิมา เทวะปุตโต
จันทิมเทวบุตร

ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติ
ถูกอสุรินทราหูจับตัวไว้ ฯ

อะถะโข จันทิมา เทวะปุตโต
ครั้งนั้นแล จันทิมเทวบุตร

ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโณ
ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ
ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

นะโม เต พุทธะวีรัตถุ
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์

วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในกิเลสธรรมทั้งปวง

สัมพาธะปะฏิปันโนสมิ
ข้าพระองค์เผชิญฐานะอันคับขัน

ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติ
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์ด้วยเถิด

อะถะโข ภะคะวา
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

จันทิมัง เทวะปุตตัง อารัพภะ
ทรงปรารภจันทิมเทวบุตร

ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า

ตะถาคะตัง อะระหันตัง จันทิมา สะระณัง คะโต
จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ว่าเป็นที่พึ่ง

ราหุ จันทัง ปะมุญจัสสุ
ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อย จันทิมเทวบุตรเสียเถิด

พุทธา โลกานุกัมปะกาติ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก

อะถะโข ราหุ อะสุรินโท
ลำดับนั้นแล อสุรินทราหู

จันทิมัง เทวะปุตตัง มุญจิตวา
ปล่อยจันทิมาเทวบุตรแล้ว

ตะระมานะรูโป
ก็กระหืดกระหอบ

เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ
เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่

อุปะสังกะมิตวา
ครั้นเข้าไปหาแล้ว

สังวิคโค
ก็เศร้าสลดใจ

โลมะหัฏฐะชาโต
เกิดขนพองสยองเกล้า

เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
ได้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

เอกะมันตัง ฐิตัง โข ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถายะ อัชฌะภาสิ อสุรินทเวปจิตติ
ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า

กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระจันทร์เสียเล่า

สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
ทำไมหนอ ท่านจึงเศร้าสลดมายืนกลัวอยู่ทำไมเล่า ฯ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ
อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้า พึงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย ฯ


.....................................................

http://www.thefuntong.com/imagegallery/imageslevel/81/sub/105/DSC_0519_resize.JPG


 เรื่องพระราหู...มีอยู่ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาในหัวข้อ "จันทิมสูตร" และ "สุริยสูตร" อ้างว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ พระนครสาวัตถี ปรากฏว่า จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทรราหูจับพระจันทร์จะกลืนกิน พระจันทร์จึงร้องขอให้ พระพุทธเจ้าคุ้มครองป้องกันให้พ้นจากการคุกคามของพระราหู"

ในที่สุดพระองค์ทรงใช้คาถาทรมานพระราหู จนยอมปล่อยพระจันทร์ และหันมาเลื่อมใสศาสนาพุทธในทำนองเดียวกันพระอาทิตย์ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์จนพระราหู ลดทิฐิมานะ ยอมถวายอภิวาทพระศาสดา ละเลิกเป็นอันธพาล เลื่อมใสในหลักธรรมของพระตถาคต


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

จันทิมสูตรที่ ๙

    [๒๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
         ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ


     [๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง
     ดูกรราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก ฯ

     [๒๔๓] ลำดับนั้นอสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
     [๒๔๔] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
     ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ

     [๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ





ในอดีตชาติ ...พระราหู...ได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีกสององค์ คือ พระอาทิตย์ และพระจันทร์ โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้งสองคน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว เมื่อทั้ง3พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง (แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป)


สาเหตุที่พระราหูมีกายเพียงครึ่งท่อน...

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่เหล่าเทวดาได้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอัมฤตนั้นมีทั้งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายเข้าร่วมทำพิธี พระราหูได้แอบอยู่ในกลีบเมฆ เมื่อทำพิธีสำเร็จพระราหูจึงรีบลอบดื่มน้ำอัมฤตที่เกิดขึ้นนั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เห็นเข้าจึงรีบเอาความนั้นไปทูลบอกพระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระนารายณ์ทราบจึงขว้างจักรตัดไปถูกกลางตัวพระราหูขาดกลายเป็นสองท่อน

แต่ด้วยว่าน้ำอำมฤตที่พระราหูได้ดื่มนั้นไหลไปจนถึงกลางตัวพระราหูแล้วพอดี ครึ่งบนของพระราหูที่ถูกตัดออกจึงกลายเป็นอมตะ ส่วนครึ่งล่างนั้นได้กลายมาเป็นพระเคราะห์องค์ที่9แห่งเหล่าเทวดานพเคราะห์ซึ่งก็คือ พระเกตุ จากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น