วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

[บทความ] จารึกพระเจ้าตากสิน ณ วัดอรุณราชวราราม



เมื่อครั้งที่อาตมาตัดสินใจจะบวชเป็นสามเณรีครั้งแรกเมื่อต้นปี ๒๕๕๖ นั้น วัดแรกที่อาตมาติดต่อมาก็คือ...วัตรทรงธรรมกัลยาณี... แต่ด้วยเหตุขัดข้องบางประการจึงทำให้อาตมาไม่สามารถเข้าร่วมการบวชได้ตามหมายกำหนดการของวัด เป็นเหตุให้ต้องชัดเชไปบวชสามเณรีและสิกขมานายังอารามภิกษุณีแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ และท้ายที่สุดอาตมาก็มีเหตุจำเป็นที่ต้องกลับมาเข้าพิธีบวชใหม่อีกครั้งที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี หากจะพิจารณาตามเหตุผลทางธรรมแล้วก็คงต้องบอกว่าเพราะอาตมาคงได้ทำบุญร่วมกันมากับหมู่คณะสงฆ์ของวัตรทรงธรรมมาก่อน ที่สำคัญทั้งพระภิกษุณี วรมัย กบิลสิงห์ หรือ หลวงย่า และ หลวงแม่ธัมมนันทา ภิกษุณี ล้วนเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำมาก่อนด้วย...

วันที่อาตมาเดินทางเข้ามาที่วัตรทรงธรรมกัลยาณีนั้น อาตมามองเห็นศาลพระเจ้าตากสินตั้งอยู่ชิดรั้วด้านในสุดด้านซ้ายมือของ "โบสถ์" ซึ่งก็สงสัยว่าเกี่ยวข้องอะไรกับวัด ภายหลังจึงได้ทราบว่าหลวงย่าได้เขียนหนังสือเรื่อง "ใครฆ่าพระเจ้าตาก" และยังให้ความเคารพนับถือสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมากด้วยที่พระองค์ทรงเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อกอบกู้เอกราชของบ้านเมืองอย่างไม่ย่อท้อ...ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อาตมาเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนเรื่องราวของ "วัดอรุณราชวราราม" อันความเกี่ยวข้องกับพระเจ้าตากสินที่มีต่อพระพุทธศาสนามานำเสนอไว้ ณ ที่นี้



วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อ ตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอก ใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชม พระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทาง ชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

ชื่อ "วัดแจ้ง" นี้ มีเรื่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จฯ กรมพระยานริศรา นุวัตติวงศ์ไว้ว่า "หม่อมฉันเคยเห็นแผนที่เมืองธนบุรีที่ฝรั่งเศสทำเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ในแผนที่นั้นมีแต่วัดเลียบกับวัดแจ้ง เวลานั้นยังเป็นชานป้อมใหญ่ ซึ่งอยู่ราวโรงเรียนราชินี เพราะฉะนั้นวัดโพธิ์เป็นวัดสร้างเมื่อล่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มาแล้ว


 

เมื่อ...พระเจ้าตากสินมหาราช...โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรี และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา...


วัดอรุณราชวรารามคงมีจารึกใน ...ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช...  แสดงให้เห็นถึงปณิธานอันแน่วแน่ของพระเจ้าตากสินมหาราชที่มีต่อพระพุทธศาสนา จารึกไว้ดังนี้ว่า

“อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติพระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้เหมาะสม
เจริญสมถะวิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน


...นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้ไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"

ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน...


 ..................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น