วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[บทความ] อานิสงส์บูชาด้วย "ดอกอโศก" เป็นพุทธบูชา




...อโศกสปัน... มีถิ่นกำเนิด ในประเทศเวเนซูเอล่าจึงมีชื่อเรียกอีอย่างหนึ่งว่า...Rose of Venezuela...จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ในบริเวณ...พระวิหาร "พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า"... วัตรทรงธรรมกัลยาณี จังหวัดนครปฐม มีต้นอโศกสบันอยู่หลายต้น กำลังออกดอกเบ่งบานสวยงามน่าชมทีเดียว มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับดอกอโศก
กล่าวกันว่าต้นอโศกเป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงสวยงามราวกับสถูป ในอินเดียถือว่า ‘อโศก’ เป็นสัญลักษณ์ของความรัก และมักใช้...ดอกอโศก...ถวายพระกามเทพ...

‘อโศก’ ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ชื่อของต้นไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อของจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดียนั่นก็คือ ‘พระเจ้าอโศกมหาราช’ กษัตริย์นักรบนักรักผู้ยุติการทำสงคราม และหันมาใฝ่พระทัยในพุทธศาสนา ทรงใช้ธรรมะปกครองบ้านเมือง และทรงอุปถัมภ์บำรุงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่าเป็นยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองทั่วชมพูทวีป และแผ่กว้างไกลออกไปในต่างแดนอีกด้วย

ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ มีเรื่องราวที่กล่าวไว้เกี่ยวกับดอกอโศกว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนุ่งสบงห่มจีวรในตอนเช้า ถือบาตร เสด็จเข้าไปยังปะรำที่ตกแต่งประดับประดาดุจเทพวิมาน ยังห้วงอรรณพให้สว่างไสวดุจมีรัศมีตั้งพันดวง ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้ อุบาสกได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอม ดอกไม้ธูปและประทีป.

สมัยนั้น หญิงหาฟืนคนหนึ่ง เห็นต้นอโศกมีดอกบานสะพรั่งในนันทนวัน จึงถือเอาดอกอโศกเป็นอันมากทำเป็นช่อพร้อมด้วยขั้วและก้านเดินมาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น มีจิตเลื่อมใส จึงเอาดอกไม้เหล่านั้นปูลาดเป็นเครื่องลาดดอกไม้โดยรอบอาสนะ ทำการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ ๓ รอบถวายนมัสการกลับไป.

ครั้นต่อมา นางได้ถึงแก่กรรมไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร โดยมากนางฟ้อนรำขับร้องอยู่ที่สวนนันทนวัน ร้อยกรองมาลัยดอกไม้ปาริฉัตตกะรื่นเริงบันเทิง เล่นกีฬาเสวยแต่ความสุข.

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ครั้นเห็นเทพธิดานั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดานั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่เสียงทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ พร้อม ๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุก ๆ ส่วน เมื่อท่านไหวกายไปมาเสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่ช้องผมทุก ๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้าก็เปล่งเสียงไพเราะคล้ายดนตรีเมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่

อนึ่ง พวกมาลัยคล้องเศียรทั้งที่ไม่ถูกลม ทั้งที่ถูกลมก็ยังไหวได้ เสียงมาลัยประดับเศียรที่ถูกลมพัดต้องเข้าแล้วก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรี แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผมก็มีกลิ่นหอมหวนน่าชื่นใจฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจไม้สวรรค์มีดอกบานสะพรั่ง ที่ขึ้นอยู่ท่ามกลางบริเวณที่ทำอุโบสถของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เขาคันธมาทน์ มีดอกหอมทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก ดอกไม้เหล่านั้นเกิดที่ปลายกิ่งของต้นไม้นั้น มีกลิ่นแผ่ซ่านไปหลายโยชน์ ด้วยเหตุนั้นไม้สวรรค์จึงมีกลิ่นหอมยิ่งนักฟุ้งไปทั่วทิศฉันใด เหมือนกลิ่นของมาลัยทิพย์ประดับบนเศียรของท่านนั้นฟุ้งไปทั่วทิศ

ดูก่อนเทพธิดาอาตมาถามแล้วขอท่านจงบอกว่านี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร?

เทพธิดาจึงตอบว่า ดิฉันได้น้อมนำเอา...ดอกอโศก...ซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสรมีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยกุศลกรรมนี้ทำให้ดิฉันปราศจากความโศก ไม่มีโรค รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์...เมื่อดิฉันถึงแก่กรรมก็ได้มาบังเกิดขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร โดยมากนางฟ้อนรำขับร้องอยู่ที่สวนนันทนวัน ร้อยกรองมาลัยดอกไม้ปาริฉัตตกะรื่นเริงบันเทิง เล่นกีฬา เสวยแต่ความสุขดังที่พระคุณเจ้าเห็นนี้แล....






อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓
๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน

อรรถกถาปาริฉัตตกวิมาน 


ปาริฉัตตกวิมาน มีคาถาว่า ปาริจฺฉตฺตเก โกวิฬาเร ดังนี้เป็นต้น.
ปาริฉัตตกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ใกล้กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น อุบาสิกาคนหนึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น จึงจัดปะรำใหญ่ใกล้ประตูเรือนของตนวงม่านโดยรอบ ผูกเพดานเบื้องบน ยกธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นต้น แขวนผ้าสีสดสวยต่างๆ และพวงของหอม พวงดอกไม้ พวงมาลัย ปูลาดอาสนะ ณ สถานที่ราบเรียบแล้ว กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าตามกำหนดเวลา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ในตอนเช้าทรงนุ่งสบงห่มจีวร ถือบาตร เสด็จเข้าไปยังปะรำที่ตกแต่งประดับประดาดุจเทพวิมาน ยังห้วงอรรณพให้สว่างไสวดุจมีรัศมีตั้งพันดวง ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้.
อุบาสกได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอม ดอกไม้ธูปและประทีป.

สมัยนั้น หญิงหาฟืนคนหนึ่งเห็นต้นอโศกมีดอกบานสะพรั่งในนันทนวัน จึงถือเอา...ดอกอโศก...เป็นอันมากทำเป็นช่อพร้อมด้วยขั้วและก้าน เดินมาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น มีจิตเลื่อมใส จึงเอาดอกไม้เหล่านั้นปูลาดเป็นเครื่องลาดดอกไม้โดยรอบอาสนะ ทำการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ ๓ รอบถวายนมัสการกลับไป.

ครั้นต่อมา นางได้ถึงแก่กรรมไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร โดยมากนางฟ้อนรำขับร้องอยู่ที่สวนนันทนวัน ร้อยกรองมาลัยดอกไม้ปาริฉัตตกะรื่นเริงบันเทิง เล่นกีฬา เสวยแต่ความสุข.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ครั้นเห็นเทพธิดานั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดานั้นได้ทำมาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่เสียงทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่พร้อมๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกๆ ส่วน เมื่อท่านไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่ช้องผมทุกๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้า ก็เปล่งเสียงไพเราะคล้ายดนตรีเครื่อง ๕.

อนึ่ง เสียงมาลัยประดับเศียรที่ถูกลมพัดต้องเข้าแล้วก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผม ก็มีกลิ่นหอมหวนน่าชื่นใจ ฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจไม้สวรรค์ฉะนั้น ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์.

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านจงบอกว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาริจฺฉตฺตเก โกวิฬาเร โยชนาแก้ว่า เทพธิดาถือเอาดอกไม้สวรรค์อันมีชื่อว่าปาริฉัตตกะ. ชาวโลกเรียกดอกไม้สวรรค์ว่าปาริชาต แต่ในภาษามคธเรียกว่าปาริฉัตตกะ. ส่วนโกวิฬาโรเป็นกำเนิดของดอกไม้สวรรค์ ทั้งในมนุษยโลก ทั้งในเทวโลก เรียกว่าโกวิฬาร. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็นกำเนิดของดอกไม้สวรรค์นั้น.

ก็ในเวลาที่เทพธิดานั้นฟ้อน เสียงไพเราะเพราะพริ้งเปล่งออกจากสรีระอันเป็นส่วนของอวัยวะ และจากเครื่องประดับ. แม้กลิ่นก็ซ่านออกไปทั่วทุกทิศ.

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ตสสฺา เต นจฺจมานาย เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สวนียา ได้แก่ ควรฟัง หรือเป็นประโยชน์แก่การฟัง. อธิบายว่า สบายหู.
บทว่า วิวตฺตมานา กาเยน ได้แก่ กาย คือสรีระของท่านไหวไปมา.
บทว่า วิวตฺตมานา กาเยน นี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอิตถัมภูต (มี).
บทว่า ยา เวณีสุ ปิลนฺธนา ได้แก่ เครื่องประดับที่ช้องผมของท่าน. พึงเห็นว่า ในบทนี้ ลบวิภัตติหรือเป็นลิงควิปลาส.
บทว่า วฏํสกา ได้แก่ พวงมาลัยคล้องเศียรเป็นช่อทำด้วยแก้ว.
บทว่า วาตธุตา ได้แก่ ถูกลมอ่อนพัดมาต้องเข้า.
บทว่า วาเตน สมฺปกมฺปิตา ได้แก่ ถูกลมพัดไปโดยรอบๆ โดยเฉพาะ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏํสกา วาตธุตา วาเตน สมฺปกมฺปิตา ได้แก่ พวงมาลัยคล้องเศียร ทั้งที่ไม่ถูกลม ทั้งที่ถูกลม ก็ยังไหวได้. ประกอบความว่า มาลัยประดับเศียรนั้น ฟังแล้วมีเสียงก้องกังวาน.
บทว่า วาติ คนฺโธ ทิสา สพฺพา ได้แก่ กลิ่นของมาลัยทิพย์บนเศียรของท่านนั้นฟุ้งไปทั่วทิศ.

ถามว่า เหมือนอะไร.

ตอบว่า เหมือนไม้สวรรค์. ความว่า เหมือนไม้สวรรค์มีดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นแผ่ซ่านไปหลายโยชน์ ฟุ้งไปทั่วทิศฉันใด กลิ่นของมาลัยเครื่องประดับเศียรของท่านก็ฉันนั้น.

นัยว่า ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ท่ามกลางบริเวณที่ทำอุโบสถของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เขาคันธมาทน์ มีดอกหอมทั้งในเทวโลก และมนุษยโลก ดอกไม้เหล่านั้นเกิดที่ปลายกิ่งของต้นไม้นั้น. ด้วยเหตุนั้น ไม้สวรรค์จึงมีกลิ่นหอมยิ่งนัก เหมือนกลิ่นของมาลัยที่เทพธิดานั้นประดับ. ฉะนั้น พระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า รุกฺโข มญฺชุสโก ยถา เหมือนต้นไม้สวรรค์.

ก็เพราะอารมณ์ทั้งหลายในที่นั้น แม้ทั้งหมดนั้นเป็นปิยรูปอย่างเดียว เพราะสวรรค์นั้นมีผัสสายตนะ ๖ ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า ฆายเส ตํ สุจิคนฺธํ รูปํ ปสฺสสิ อมานุสํ ความว่า ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์ เพราะคันธรูป (กลิ่นหอม) อันเป็นของวิเศษที่เทพธิดานั้นได้.

เทพธิดาจึงตอบด้วยคาถา ๒ คาถาว่า

ดีฉันได้น้อมนำเอาดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสร มีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว จึงปราศจากความโศก ไม่มีโรค รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์.

เทพธิดากล่าวว่า ปภสฺสรํ อจฺจิมนฺตํ เกสรงามเลื่อมประภัสสรเป็นต้น หมายถึง...ดอกอโศก...เป็นดอกไม้สูงสุด ดุจข่ายรัศมีดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในครั้งนั้น เพราะมีเกสรดอกไม้เกิดขึ้น คล้ายก้อนแก้วประพาฬที่ขัดสีดีแล้ว.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.



จบอรรถกถาปาริฉัตตกวิมาน


------------------------------------------------

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[บทความ] อานิสงส์บูชาด้วย "ดอกสาละ"



...ภาพดอกสาละ...ที่เห็นนี้เป็นดอกไม้ที่เบ่งบานอยู่ในบริเวณ...พระวิหาร "พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า"... วัตรทรงธรรมกัลยาณี จังหวัดนครปฐม สาละ เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญมากเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน...

สำหรับผู้มีใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความศรัทธาเลื่อมใส น้อมจิตบูชาต่อพระบรมศาสดาด้วยความเคารพบูชา อันเกิดจากน้ำใสใจจริง พร้อมกับบูชาพระองค์ท่านเป็นประจำ ผลที่เกิดจากการเคารพบูชาพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน คือจะส่งผลให้พบแต่สิ่งที่ดีงาม ชีวิตจะมีแต่ความสงบสุขร่มเย็นทั้งในภพนี้และภพหน้า จะได้เป็นผู้ที่ท่องเที่ยวอยู่ใน ๒ ภพภูมิ คือ มนุษยโลกแล้วก็เทวโลก

การบูชาต่อพระพุทธองค์นี้มีอานุภาพมากอย่างนี้ แม้ว่าผู้นั้นจะละจากโลกไปแล้ว บุญที่ได้กระทำเอาไว้ก็ยังจะส่งผลอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย มีผลอันน่าอัศจรรย์ ดังเช่นประวัติการสร้างความดีของนางเทพนารีองค์หนึ่ง เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์นั้น ก็เป็นเพียงบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ด้วยดวงใจที่เลื่อมใสต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ถวาย...ดอกสาละ...เพื่อเป็นการบูชาสักการะบูชาพระพุทธองค์

เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ในยุคนั้น มหาชนทั้งหลายมักจะชักชวนกันสั่งสมบุญด้วยการทำทาน รักษาศีลและเจริญสมาธิภาวนากันอย่างเต็มกำลัง ไม่เคยให้โอกาสดีๆ ที่จะได้ทำบุญ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านเลยไป และในยุคสมัยนั้น มีอุบาสกผู้ใจบุญอยู่ท่านหนึ่ง ถึงแม้จะยากจนด้วยทรัพย์สินเงินทอง แต่กำลังศรัทธาไม่เคยบกพร่อง เป็นผู้ที่รักบุญมากเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อเห็นการสร้างบารมีของนักสร้างบารมีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีและมหาอุบาสิกาวิสาขา ก็คิดอยู่ในใจเสมอว่า สักวันหนึ่งเราจะต้องได้ทำบุญใหญ่อย่างนักสร้างบารมีทั้งหลายเหล่านั้นบ้าง จึงได้แต่รอคอยโอกาสเรื่อยมา แต่ในระหว่างนั้นก็ยังคงสั่งสมบุญอยู่มิได้ขาด

จนกระทั่งเวลาผ่านไป อุบาสกท่านนี้จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า “หากเรารอเวลาให้พร้อมบริบูรณ์เหมือนกับท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีและมหาอุบาสิกาวิสาขาแล้ว ในภพชาตินี้ไม่ทราบว่า เมื่อไหร่จึงจะมีความพร้อมกับเขา เอาเถิด เราจะทำตัวของเราให้พร้อมดีกว่า” เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็ไม่รอช้า จึงคิดจะเอาบุญใหญ่ให้เต็มที่ ใจของอุบาสกท่านนี้จดจ่ออยู่กับการสร้างบุญตลอดเวลา จึงได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็สร้างมณฑปสำหรับเป็นที่ถวายทาน หลังจากที่สร้างเสร็จแล้ว แม้จะเป็นมณฑปที่ไม่หรูหราอลังการ แต่หัวใจของผู้ให้กลับปีติเบิกบานอย่างยิ่ง ได้ทำการบูชาสักการะและถวายทานในมณฑปที่ลงแรงสร้างขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรง




ในสมัยนั้น มีหญิงรับใช้ในตระกูลหนึ่ง เห็นต้นสาละในสวนอันธวันออกดอกบานสะพรั่ง จึงเก็บดอกสาละในสวนนั้นมา เอาเถาไม้ร้อยเป็นพวงมาลัยเลือกเก็บเอาเฉพาะดอกที่ขาวราวมุกดาและก็ดอกที่งดงามเป็นอันมาก ถือเข้ามาในพระนคร ในระหว่างทางที่นางเดินเข้าพระนครนั้น ได้ผ่านมาทางมณฑปที่อุบาสกท่านนั้นได้สร้าง แล้วกำลังทำบุญกับพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่พอดี เนื่องจากเป็นหญิงรับใช้ ตลอดเส้นทางที่เดินผ่านมา ได้แต่ก้มหน้าก้มตาเดินอย่างเดียว

จนมาถึงบริเวณนั้น พอได้เห็นฉัพพรรณรังสีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งเหนืออาสนะที่อุบาสกตกแต่งไว้อย่างดี มองเห็นฉัพพรรณรังสีที่สวยงามเปล่งออกจากพระวรกาย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ อันจับต้องเทือกเขายุคันธรอยู่ฉะนั้น ทำให้นางเกิดความปีติเลื่อมใสเป็นกำลัง ในใจของนางก็นึกอนุโมทนาบุญกับอุบาสกว่า ช่างเป็นบุญลาภของอุบาสกนี้หนอ ที่ได้มีโอกาสสร้างบุญกับพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้ทำอย่างเต็มกำลังของตัวเอง

เมื่อคิดถึงตรงนี้นางก็ฉุกคิดได้ว่า แม้การที่เราเดินมาพบกับเหตุการณ์อัศจรรย์อันสุดแสนจะปีติประทับใจอย่างนี้ ก็นับเป็นบุญลาภของเราเหมือนกัน แม้ในมือของเราก็มีดอกไม้อย่างดีและสวยงาม ถึงแม้เราจะไม่มีไทยธรรมดังเช่นอุบาสก แต่เราก็จะไม่ปล่อยให้โอกาสดีๆ อย่างนี้ผ่านเลยไป เมื่อคิดอย่างนี้ ก็ไม่รอช้า ได้เอาดอกไม้ทั้งหมดที่ตนเองอุตส่าห์หอบหิ้วมาตั้งไกล น้อมบูชาพระบรมศาสดา นางได้วางพวงมาลัยไว้รอบพุทธอาสน์ แล้วก็โปรยดอกไม้ที่เหลือบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความปิติยิ่ง จากนั้นก็ได้เวียนประทักษิณสามรอบแล้วเดินจากไป

อามิสบูชาที่นางได้ทำบุญกับพระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น ประทับอยู่ในใจของนางตลอดเวลา เนื่องจากเป็นสาวใช้ จึงไม่ได้โอกาสไปนมัสการหรือฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ถึงแม้นางจะได้โอกาสเพียงครั้งเดียว ก็จำเรื่องราวที่ดีงามเหล่านั้นได้ไม่เคยลืมเลือน จนกระทั่งละจากโลกนี้ไป ด้วยผลแห่งบุญที่ทำในครั้งนั้น ส่งผลให้นางไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ มีมหาสมบัติทิพย์ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ มหาวิมานของนางนั้น เป็นวิมานแก้วผลึกแดง ที่มีรัศมีรุ่งเรืองสว่างไสว ข้างหน้าวิมานนั้นมีต้นสาละทิพย์ที่ใหญ่มาก พื้นที่ของสวนก็ลาดด้วยทรายทอง เวลาที่นางออกจากมหาวิมานแก้วผลึกแดง ต้นสาละนั้นจะพร้อมใจกันโน้มกิ่งลงมา แล้วก็จะโปรยดอกสาละทิพย์ต้อนรับ ยังความอัศจรรย์ใจให้บังเกิดขึ้นกับเหล่าเทวดาทั้งหลาย สมบัติทิพย์ของนางก็รุ่งเรืองตระการตา ดึงดูดสายตาของผู้ได้พบเห็น

จนกระทั่งวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะ อริยสาวกเบื้องซ้าย จาริกผ่านไปพบกับมหาสมบัติและรัศมีอันรุ่งเรืองอย่างนั้น จึงเอ่ยถามว่า

“ดูก่อนเทพธิดา ท่านรื่นรมย์อยู่ในวิมานแก้วผลึก มีพื้นดารดาษไปด้วยทรายทอง มีเสียงกึกก้องด้วยทิพยดุริยางค์อันไพเราะ เมื่อลงจากวิมานก็ยังมีต้นสาละทิพย์คอยต้อนรับและส่งกลิ่นทิพย์ที่หอมอบอวล ดูก่อนเทพนารีผู้มีบุญมาก เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้สร้างบุญพิเศษอะไรเอาไว้”

เทพนารีนั้น ครั้นถูกพระเถระถามจึงกราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าที่เคารพ เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ ดิฉันเป็นเพียงหญิงรับใช้อาศัยอยู่ในตระกูลเจ้านาย แทบไม่มีโอกาสได้สร้างบุญกุศลอย่างอื่นเลย เพียงแค่มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ในมือมีเพียงดอกไม้สาละจึงได้บูชาพระพุทธองค์ ดิฉันได้สมบัติทิพย์ที่น่าอัศจรรย์ก็ด้วยบุญนั้น เจ้าค่ะ”


....................................................



อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔
๑. มัญชิฏฐกวิมาน

มัญชิฏฐกวรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถามัญชิฏฐกวิมาน 


มัญชิฏฐกวิมาน มีคาถาว่า มญฺชิฏฺฐเก วิมานสฺมึ โสวณฺณวาลุกสนฺเถเต เป็นต้น.
วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี. อุบาสกคนหนึ่งในกรุงสาวัตถีนั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า จัดสร้างมณฑปแล้วบูชาสักการะ ถวายทานในมณฑปนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในวิมานติดๆ กัน.

สมัยนั้น หญิงรับใช้ประจำตระกูลคนหนึ่ง เห็นต้นสาละในสวนอันธวันออกดอกบานสะพรั่ง จึงเก็บ...ดอกสาละ...ในสวนนั้นมาเอาเถาไม้ร้อยเป็นมาลัยสวมคอ ทั้งเก็บดอกที่ขาวอย่างมุกดาและดอกงามๆ เป็นอันมากเข้าพระนคร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเปล่งพระพุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประการในมณฑปนั้น เหมือนดวงอาทิตย์อ่อนทอแสงส่องเทือกภูเขายุคนธร ก็มีจิตเลื่อมใส เอาดอกไม้เหล่านั้นบูชา วางพวงมาลัยไว้รอบพระพุทธอาสน์ โปรยดอกไม้อีกจำนวนหนึ่ง ถวายบังคมโดยเคารพ ทำประทักษิณสาม ครั้งแล้วไป.

ต่อมานางได้ตายไปเกิดในดาวดึงส์... ที่ดาวดึงส์นั้น นางมีวิมานแก้วผลึกแดง และข้างหน้าวิมานมีสวนสาละใหญ่ พื้นที่สวนลาดทรายทอง. ยามที่นางออกจากวิมานเข้าสวนสาละ กิ่งสาละทั้งหลายโน้มลงโปรยดอกในเบื้องบน. 

ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหานางตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ถามถึงกรรมที่นางทำไว้ ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านรื่นรมย์อยู่ในวิมานแก้วผลึก มีพื้นดาดาษไปด้วยทรายทอง กึกก้องไปด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เมื่อท่านลงจากวิมานแก้วผลึก อันบุญกรรมแต่งไว้เข้าไปสู่ป่าสาละ อันมีดอกบานสะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง ยืนอยู่ที่โคนต้นสาละต้นใดๆ ต้นสาละนั้นๆ ซึ่งเป็นไม้อุดม ก็น้อมกิ่งโปรยดอกลงมา ป่าสาละนั้นต้องลมแล้ว โบกสะบัดไปมา เป็นที่อาศัยแห่งฝูงสกุณชาติ โชยกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทิศ ดุจต้นอุโลกฉะนั้น. ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้ชมรูปทิพย์ ซึ่งมิใช่ของมนุษย์

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านโปรดจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

พระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดานั้นได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่าเมื่อชาติก่อน ดีฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นทาสีอยู่ในตระกูลเจ้านาย ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้โปรยดอกสาละรอบอาสนะ และได้น้อมนำพวงมาลัยดอกสาละอันร้อยกรองอย่างดี ถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือของตน ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว ก็สร่างโศกหมดโรคภัย สุขกายสุขใจ รื่นเริงบันเทิงอยู่.



จบอรรถกถามัญชิฏฐกวิมาน 

.............................................................

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[VOD] สุริยสูตรที่ ๑๐ และบทสวดมนต์ "สุริยปริตต์"

http://what-buddha-said.net/gallery/var/albums/Dhamma-illustrations/fine_calm_serene_blue_white_Buddha.jpg?m=1370753532

สุริยปริตฺตปาโฐ (ภาษาบาลี)

เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน สุริโย เทวปุตฺโต ราหุเน อสุรินฺเทน คหิโต โหติ ฯ อถโข สุริโย เทวปุตฺโต ภควนฺตํ อนุสฺสรมาโน ตายํ เวลายํ อิมํ คาถํ อภาสิ ฯ

นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺมิ ตสฺส เม สรณํ ภวาติ
อถโข ภควา สุริยํ เทวปุตฺตํ อารพฺภ ราหุ อสุรินฺทํ คาถาย อชฺฌภาสิ

ตถาคตํ อรหนฺตํ สุริโย สรณํ คโต ราหุ สุริยํ ปมุญฺจสฺส พุทฺธาโลกานุกมฺปกา
โย อนฺธกาเร ตมสี ปภงฺกโร เวโรจโน มณฺฑลิ อุคฺคเตโช มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข
ปชํ มม ราหุ ปมุญฺจ สุริยนฺติ ฯ อถโข ราหุ อสุรินฺโท สุริยํ เทวปุตฺตํ มุญฺจิตฺวา ตรมานรูโป เยน เวปจิตฺติ อสุรินฺโท เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา สํวิคฺโค โลมหฏฺฐชาโต เอกมนฺตํ อฎฺฐาสิ ฯ เอกมนฺตํ ฐิตํ โข ราหุ อสุรินฺทํ เวปจิตฺติ อสุรินฺโท คาถาย อชฺฌภาสิ.

กินฺนุ สนฺตรมาโน ว ราหุ สุริยํ ปมุญฺจสิ สํวิคฺครูโป อาคมฺม กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺสีติ สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา ชีวนฺโต น สุขํ ลเภ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ โน เจ มุญฺเจยฺย สุริยนฺติ สุริยปริตฺตปาโฐ นิฏฺฐิโต ฯ


............................................................


 http://www.harekrsna.de/surya/surya03a.jpg

บทสวดมนต์ สุริยปริตฺต์

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สุริโย เทวะปุตโต ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติฯ อะถะโข สุริโย เทวะปุตโต ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโน ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ

นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนส๎ะมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติฯ

อะถะโข ภะคะวา สุริยัง เทวะปุตตัง อารัพภะ ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ตะถาคะตัง อะระหันตัง สุริโย สะระณัง คะโต
ราหุ สุริยัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกา ฯ
โย อันธะกาเร ตะมะสี ปะภังกะโร
เวโรจะโน มัณฑะลิ อุคคะเตโช
มา ราหุ คิลี จะระมันตะลิกเข
ปะชัง มะมะ ราหุ ปะมุญจะ สุริยันติฯ

อะถะโข ราหุ อะสุรินโท สุริยัง เทวะปุตตัง มุญจิต๎ตะวา ตะระมานะรูโป เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ อุปสังกมิต๎ตะวา สังวิคโค โลมะหัฏฐะชาโต เอกะมันตัง อัฏฐาสิฯ เอกะมันตัง ฐิตัง โข ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถายะ อัชฌะภาสิ

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมะหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติฯ


............................................................


คำแปลบทสวดมนต์ สุริยปริตต์



เอวัมเม สุตัง
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนะถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
เสด็จประทับอยู่ที่ พระเชตวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี

เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ
ก็โดยสมัยนั้นแล

สุริโย เทวะปุตโต
สุริยเทวบุตร


ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติ
ถูกอสุรินทราหู จับตัวไว้ ฯ

อะถะโข สุริโย เทวะปุตโต
ครั้งนั้นแล สุริยเทวบุตร

ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโน
ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ
ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า


นะโม เต พุทธะวีรัตถุ
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์


วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในกิเลสธรรมทั้งปวง

สัมพาธะปะฏิปันโนสมิ
ข้าพระองค์เผชิญฐานะอันคับขัน

ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติ
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์ด้วยเถิด

อะถะโข ภะคะวา
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

สุริยัง เทวะปุตตัง อารัพภะ
ทรงปรารภสุริยเทวบุตร

ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ได้ตรัสกับอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า

ตะถาคะตัง อะระหันตัง สุริโย สะระณัง คะโต
สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ว่าเป็นที่พึ่ง

ราหุ สุริยัง ปะมุญจัสสุ
ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทวบุตรเสียเถิด

พุทธา โลกานุกัมปะกา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก ฯ

โย อันธะกาเร ตะมะสี ปะภังกะโร
สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด

เวโรจะโน
มีความไพโรจน์โชติช่วง

มัณฑะลิ
มีสัณฐานเป็นวงกลม

อุคคะเตโช 
มีเดชสูง


มา ราหุ คิลี
ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น

จะระมันตะลิกเข
ผู้โคจรไปในอากาศ

ปะชัง มะมะ ราหุ ปะมุญจะ สุริยันติ
ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะผู้เป็นบุตรของเราเสียเถิด ฯ

อะถะโข ราหุ อะสุรินโท
ลำดับนั้นแล อสุรินทราหู

สุริยัง เทวะปุตตัง มุญจิตวา
ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว

ตะระมานะรูโป
กระหืดกระหอบ

เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ
เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติ ถึงที่อยู่

อุปะสังกะมิตวา
ครั้นเข้าไปหาแล้ว

สังวิคโค
ก็เศร้าสลดใจ

โลมะหัฏฐะชาโต
เกิดขนพองสยองเกล้า

เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
ได้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

เอกะมันตัง ฐิตัง โข ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถายะ อัชฌะภาสิ อสุรินทเวปจิตติ
ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระอาทิตย์เสียเปล่า

สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโตวะ ติฏฐะสีติ
ทำไมหนอ ท่านจึงเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ทำไมเล่า ฯ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภีคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ
อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย


.....................................................http://www.thefuntong.com/assets/content/images/Wed228318536501420244059757.png

เรื่องพระราหู...มีอยู่ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาในหัวข้อ "สุริยสูตร" และ  "จันทิมสูตร" อ้างว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ พระนครสาวัตถี ปรากฏว่า สุริยเทวบุตรถูกอสุรินทรราหูจับพระอาทิตย์จะกลืนกิน พระอาทิตย์จึงร้องขอให้ พระพุทธเจ้าคุ้มครองป้องกันให้พ้นจากการคุกคามของพระราหู

ในที่สุดพระองค์ทรงใช้คาถาทรมานพระราหู จนยอมปล่อยพระอาทิตย์ และหันมาเลื่อมใสศาสนาพุทธในทำนองเดียวกันพระจันทร์ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์จนพระราหู ลดทิฐิมานะ ยอมถวายอภิวาทพระศาสดา ละเลิกเป็นอันธพาล เลื่อมใสในหลักธรรมของพระตถาคต


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สุริยสูตรที่ ๑๐



[๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ

[๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ

[๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ

[๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่าข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ


...........................................................

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[VOD] จันทิมสูตรที่ ๙ และบทสวดมนต์ "จันทปริตต์"




จนฺทปริตฺตปาโฐ (ภาษาบาลี)

เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ
เตน โข ปน สมเยนจนฺทิมา เทวปุตฺโต ราหุนา อสุรินฺเทน คหิโต โหติ ฯ
อถโข จนฺทิมา เทวปุตฺโต ภควนฺตํ อนุสฺสรมาโน ตายํ เวลายํ อิมํ คาถํ อภาสิ

นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ 
สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺมิ ตสฺส เม สรณํ ภวาติ

อถโข ภควา จนฺทิมํ เทวปุตฺตํ อารพฺภ ราหุ อสุรินฺทํ คาถาย อชฺฌภาสิ
ตถาคตํ อรหนฺตํ จนฺทิมา สรณํ คโต
ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสฺสุ พุทฺธา โลกานุกมฺปกาติ

อถโข ราหุ อสุรินฺโท จนฺทิมํ เทวปุตฺตํ มุญฺจิตฺวา ตรมานรูโป
เยน เวปจิตฺติ อสุรินฺโท เตนุปสงฺกมิตฺวา สํวิคฺโค โลมหฏฺฐชาโต เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ ฯ
เอกมนํตํ ฐิตํ โข ราหุ อสุรินฺทํ เวปจิตฺติ อสุรินฺโท คาถาย อชฺฌภาสิ

กินฺนุ สนฺตรมาโน ว ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสิ สํวิคฺครูโป
อาคมฺม กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺฐสีติสตฺตธา เม ผเล มุทฺธา ชีวนฺโต
น สุขํ ลเภ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ โน เจ มุญเจยฺย จนฺทิมนฺติ จนฺทปริตฺตปาโฐ นิฏฺฐิโต ฯ





บทสวดมนต์ จันทปริต์

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณทิกัสสะ อาราเม ฯ
เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ จันทิมา เทวะปุตโต ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติ ฯ
อะถะโข จันทิมา เทวะปุตโต ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโน ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ

นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนส๎ะมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติฯ

อะถะโข ภะคะวา จันทิมัง เทวะปุตตัง อารัพภะ ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ตะถาคะตัง อะระหันตัง จันทิมา สะระณัง คะโต
ราหุ จันทัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกาติฯ

อะถะโข ราหุ อะสุรินโท จันทิมัง เทวะปุตตัง มุญจิต๎ตะวา ตะระมานะรูโป
เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ อุปสังกะมิต๎ตะวา
สังวิคโค โลมะหัฏฐะชาโต เอกะมันตัง อัฏฐาสิฯ
เอกะมันตัง ฐิตัง ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถา อัชฌะภาสิ

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมะหิ โน จะ มุญเจยยะ จันทิมันติฯ


........................................................





คำแปลบทสวดมนต์ จันทปริตต์

เอวัมเม สุตัง
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนะถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
เสด็จประทับอยู่ที่ พระเชตวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี

เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ
ก็โดยสมัยนั้นแล

จันทิมา เทวะปุตโต
จันทิมเทวบุตร

ราหุนา อะสุรินเทนะ คะหิโต โหติ
ถูกอสุรินทราหูจับตัวไว้ ฯ

อะถะโข จันทิมา เทวะปุตโต
ครั้งนั้นแล จันทิมเทวบุตร

ภะคะวันตัง อะนุสสะระมาโณ
ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตายัง เวลายัง อิมัง คาถัง อะภาสิ
ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

นะโม เต พุทธะวีรัตถุ
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์

วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในกิเลสธรรมทั้งปวง

สัมพาธะปะฏิปันโนสมิ
ข้าพระองค์เผชิญฐานะอันคับขัน

ตัสสะ เม สะระณัง ภะวาติ
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์ด้วยเถิด

อะถะโข ภะคะวา
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

จันทิมัง เทวะปุตตัง อารัพภะ
ทรงปรารภจันทิมเทวบุตร

ราหุง อะสุรินทัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า

ตะถาคะตัง อะระหันตัง จันทิมา สะระณัง คะโต
จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ว่าเป็นที่พึ่ง

ราหุ จันทัง ปะมุญจัสสุ
ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อย จันทิมเทวบุตรเสียเถิด

พุทธา โลกานุกัมปะกาติ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก

อะถะโข ราหุ อะสุรินโท
ลำดับนั้นแล อสุรินทราหู

จันทิมัง เทวะปุตตัง มุญจิตวา
ปล่อยจันทิมาเทวบุตรแล้ว

ตะระมานะรูโป
ก็กระหืดกระหอบ

เยนะ เวปะจิตติ อะสุรินโท เตนุปะสังกะมิ
เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่

อุปะสังกะมิตวา
ครั้นเข้าไปหาแล้ว

สังวิคโค
ก็เศร้าสลดใจ

โลมะหัฏฐะชาโต
เกิดขนพองสยองเกล้า

เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
ได้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

เอกะมันตัง ฐิตัง โข ราหุง อะสุรินทัง เวปะจิตติ อะสุรินโท คาถายะ อัชฌะภาสิ อสุรินทเวปจิตติ
ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า

กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระจันทร์เสียเล่า

สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
ทำไมหนอ ท่านจึงเศร้าสลดมายืนกลัวอยู่ทำไมเล่า ฯ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ
อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้า พึงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย ฯ


.....................................................

http://www.thefuntong.com/imagegallery/imageslevel/81/sub/105/DSC_0519_resize.JPG


 เรื่องพระราหู...มีอยู่ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาในหัวข้อ "จันทิมสูตร" และ "สุริยสูตร" อ้างว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ พระนครสาวัตถี ปรากฏว่า จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทรราหูจับพระจันทร์จะกลืนกิน พระจันทร์จึงร้องขอให้ พระพุทธเจ้าคุ้มครองป้องกันให้พ้นจากการคุกคามของพระราหู"

ในที่สุดพระองค์ทรงใช้คาถาทรมานพระราหู จนยอมปล่อยพระจันทร์ และหันมาเลื่อมใสศาสนาพุทธในทำนองเดียวกันพระอาทิตย์ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์จนพระราหู ลดทิฐิมานะ ยอมถวายอภิวาทพระศาสดา ละเลิกเป็นอันธพาล เลื่อมใสในหลักธรรมของพระตถาคต


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

จันทิมสูตรที่ ๙

    [๒๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
         ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ


     [๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง
     ดูกรราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก ฯ

     [๒๔๓] ลำดับนั้นอสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
     [๒๔๔] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
     ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ

     [๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ





ในอดีตชาติ ...พระราหู...ได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีกสององค์ คือ พระอาทิตย์ และพระจันทร์ โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้งสองคน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว เมื่อทั้ง3พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง (แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป)


สาเหตุที่พระราหูมีกายเพียงครึ่งท่อน...

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่เหล่าเทวดาได้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอัมฤตนั้นมีทั้งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายเข้าร่วมทำพิธี พระราหูได้แอบอยู่ในกลีบเมฆ เมื่อทำพิธีสำเร็จพระราหูจึงรีบลอบดื่มน้ำอัมฤตที่เกิดขึ้นนั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เห็นเข้าจึงรีบเอาความนั้นไปทูลบอกพระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระนารายณ์ทราบจึงขว้างจักรตัดไปถูกกลางตัวพระราหูขาดกลายเป็นสองท่อน

แต่ด้วยว่าน้ำอำมฤตที่พระราหูได้ดื่มนั้นไหลไปจนถึงกลางตัวพระราหูแล้วพอดี ครึ่งบนของพระราหูที่ถูกตัดออกจึงกลายเป็นอมตะ ส่วนครึ่งล่างนั้นได้กลายมาเป็นพระเคราะห์องค์ที่9แห่งเหล่าเทวดานพเคราะห์ซึ่งก็คือ พระเกตุ จากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์